Haijai.com


กิจกรรมส่งเสริมการสื่อสารสำหรับเด็กวัย 1 ขวบ


 
เปิดอ่าน 2003

กิจกรรมส่งเสริมการสื่อสารสำหรับเด็กวัย 1 ขวบ

 

 

 หันหน้าเข้าหาลูกใกล้ๆ เพื่อให้ลูกได้เห็นสีหน้า และใบหน้า ของคุณพ่อและคุณแม่อย่างชัดเจน คุณอาจเริ่มกิจกรรมการพูดสื่อสารกับลูกในขณะที่กำลังเปลี่ยนผ้าอ้อม ขณะใส่เสื้อผ้า  หรือตอนที่อาบน้ำให้ลูก

 

 

 ไม่สำคัญว่าคุณกำลังพูดอะไร เพียงแค่ขอให้ใบหน้า สีหน้า รวมทั้งน้ำเสียงที่คุณกำลังพูดกับลูกนั้น เป็นน้ำเสียงที่ฟังดูแล้วน่าสนใจสำหรับลูก และพูดออกมาด้วยความสุข

 

 

 ใช้คำง่ายๆ ด้วยประโยคที่สั้นๆ

 

 

 ประมาณเดือนที่ 15 เด็กจะชี้สิ่งต่างๆ เพื่อให้ผู้ใหญ่บอกสิ่งเหล่านั้น ซึ่งทำให้หนูน้อยเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่พบเจอได้มากขึ้น

 

 

 หลังจากเริ่มพูดกับลูกไปสักพัก ผู้ใหญ่ควรหยุดเพื่อเปิดให้ลูกได้ตอบสนองกลับมาบ้าง  เด็กจะเรียนรู้ได้ว่า ผู้ใหญ่กำลังเปิดโอกาสให้เขาได้มีโอกาสได้เริ่มโต้ตอบ  แม้จะเป็นเพียงการส่งเสียงออกมาแค่เล็กน้อยก็ตาม เท่านี้ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้วสำหรับเด็ก

 

 

 ใช้คำพูด ทักทาย พร้อมทั้งการใช้เสียง และสีหน้า แววตาที่ตื่นเต้น ยิ้มแย้ม สบตากับคู่สนทนาตัวน้อย “ลูกจ๋าวันนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ แม่ว่าวันนี้หนูดูสดใสจังเลยนะคะ”

 

 

 เด็กในวัยนี้สนใจ และชอบเสียงที่สูง ในการเริ่มต้นสำหรับการสื่อสารกับลูก คุณพ่อก็สามารถใช้เสียงที่สูงในการทำกิจกรรมเล่นสนุกกับลูก อย่างการเล่านิทานให้ลูกฟัง ซึ่งในลูกวัยนี้จะชอบมากคะ

 

 

 ใช้เสียงเพลงเด็ก ในการส่งเสริมการสื่อสาร พ่อแม่ควรสังเกตดูว่า ลูกชอบเพลงแบบไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า โดยดูจากการตอบสนอง ผ่านสีหน้า การยิ้ม ดีใจ เมื่อได้ฟังเพลงที่ชอบ เช่น ส่งเสียงแสดงการดีใจ โยกตัวเมื่อได้ยินเพลงที่ชอบอีกครั้ง

 

 

 เด็กๆ ชอบเสียงเพลง นอกจากเพลงโปรดแล้ว ลองเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ พร้อมทำเสียงร้องคลอตามเบาๆ เมื่อเด็กเห็นแล้วเขาก็จะทำตามบ้าง

 

 

 อย่าใจร้อน ให้หยุดเมื่อลูกไม่พร้อม อย่างฝืนบังคับเร่งเร้าให้ลูกร่วมกิจกรรมหากลูกไม่พร้อม และเริ่มต่อได้เมื่อคุณแน่ใจได้ว่าลูกพร้อมในกิจกรรมนั้นๆ จริงๆ

 

 

 การส่งเสียงร้องเพื่อดึงความสนใจจากผู้ใหญ่ อย่าแปลกใจถ้าลูกร้องไห้เมื่อคุณสนทนากับคนอื่นทางโทรศัพท์ หรือสนทนากับผู้อื่นเป็นเวลานาน เด็กวัยนี้รู้ดีว่าแม่ไม่ได้สนใจตนเองอยู่ในขณะนั้น และเด็กรู้ดีว่าการร้องไห้เป็นวีธีที่จะเรียกความสนใจกลับคืนมาจากแม่ หรือผู้เลี้ยงดูได้

 

 

สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ใหญ่ต้องให้ความละเอียดละอ่อน ถึงความพร้อมของเด็กแต่ละคน ในช่วงเวลาที่เหมาะสมซึ่งไม่เท่ากันเสมอไป ฉะนั้นการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม จังหวะที่ไม่เร็ว  ไม่ช้าจนเกินไป จึงมีความสำคัญ เด็กเล็กๆ มีสมาธิการเรียนรู้ที่สั้น ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่เท่านั้นที่จะรู้ว่า อะไรจึงเหมาะสมกับลูกของคุณ เพื่อทำให้ประสบการณ์ครั้งแรกนี้เป็นไปด้วยความสนุก และประทับใจเพื่อให้การพัฒนานี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

 

 

เด็กในวัยนี้จะยังไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดได้ แต่คุณยังสามารถสื่อสารกับลูกได้ด้วยเสียง การสัมผัส  และจากภาษากาย

(Some images used under license from Shutterstock.com.)