© 2017 Copyright - Haijai.com
Q : สังเกตเห็นว่าลูกเป็นเด็กคล้ายๆ กับเด็กสมาธิสั้น คือเวลาทำอะไรจะทำได้แปปเดียวเปลี่ยนไปเล่นไม่สนใจอย่างอื่น เวลาอ่านหนังสือ ทำการบ้านก็จะไม่ค่อยมีสมาธิ อยากเรียนถามอาจารย์ว่า ควรจะพาลูกไปตรวจความบกพร่องได้อย่างไร แล้วดิฉันควรจะดูแลลูกอย่างไร เพื่อที่เขาจะได้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ
A : ลักษณะที่สังเกตได้สำหรับอาการสมาธิสั้น มี 3 ประการ คือ ประการแรกการมีช่วงความสนใจสั้นวอกแวกง่าย ประการที่สองมีลักษณะของการขาดความยับยั้งชั่งใจ รอคอยใครไม่เป็นพูดโพล่งออกมาแบบไม่รู้จักกาลเทศะ และประการที่สาม มือการอยู่นิ่งไม่ได้ หรืออยู่ไม่สุขเคลื่อนไหวตลอดเวลา พูดมาก เด็กอาจมีลักษณะอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือทุกอย่างได้ และอาการที่ปรากฏจะปรากฏต่อเนื่องเป็นประจำไม่ได้เกิดบางครั้งบางคราว
เพื่อความชัดเจนคุณแม่สามารถนำลูกไปรับการตรวจวินิจฉัยได้จากจิตแพทย์ เช่นที่โรงพยาบาลศิริราช หรือ หน่วยจิตเวชในโรงพยาบาลอื่น ตลอดจนที่กรมสุขภาพจิต เมื่อทราบผลการวินิจฉัยแน่นอนแล้วก็จะได้รับคำแนะนำในการช่วยเหลือ เช่น อาจต้องใช้ยาช่วย หรือใช้ยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม หรืออาจไม่ถึงใช้ยาแค่ใช้วิธีการปรับพฤติกรรม หรือการบำบัดทางเลือกอื่นๆ ตามความเหมาะสม การช่วยเหลือหลังการวินิจฉัยสามารถรับบริการได้ทั้งที่โรงพยาบาล และหน่วยงานอื่น เช่น ภาควิชาการศึกษาพิเศษ มศว.ประสานมิตร เป็นต้น
ศาสตราจารย์ ศรียา นิยมธรรม
(Some images used under license from Shutterstock.com.)