Haijai.com


ระวังผิวไหม้จากรอยเพ้นท์ (เพ้นท์เฮนน่า)


 
เปิดอ่าน 16378

ระวังผิวไหม้จากรอยเพ้นท์ (เพ้นท์เฮนน่า)

 

 

การสักเป็นเรื่องเท่ห์ๆ สำหรับใครหลายคน แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่ใจไม่กล้าพอ จึงต้องหันมาพึ่งการเพนท์เฮนน่าแทน ซึ่งรอยเพ้นท์จะอยู่ได้ไม่นานเพียง 2-4 สัปดาห์ก็จะค่อยๆ จางหายไปเอง ทั้งที่การเพ้นท์เฮนน่าเป็นวิธีการสำแบบไม่ถาวร และดูเหมือนว่าจะไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อผิวหนังเหมือนการสักถาวร แต่ใครจะรู้ว่าความจริงแล้วเรา มีโอกาสแพ้สารเคมีจากเฮอนน่าผสมที่นิยมนำมาใช้ตามร้านสักทั่วไป

 

 

แม้ว่าเฮยน่าจะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง สกัดได้จากไม้พันธุ์พุ่มเตี้ยที่มีชื่อว่า Lawsonia Intermis หรือต้นเทียนกิ่ง มีลักษณะเป็นผงแป้ง ส่วนที่นำมาสกัดเป็นผงเฮนน่าคือ ใบ กิ่ง และก้าน อาจมีการเพิ่มส่วนประกอบเข้าไปเช่น น้ำมันยูคาลิปตัส เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง นิยมนำไปย้อมสีผม หรือใช้เขียนตามร่างกาย สีที่ได้จะเป็นสีนำตาลเข้มออกแดง มีคุณสมบัติใช้เป็นสีย้อม

 

 

กรณีที่เฮนน่ามีการผสมสารเคมีเข้าไปเพิ่มความเข้มดำของสีเฮนน่าเกิน 6 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นแบล็ค เฮนน่า (Black Henna) ที่สามารถทำอันตรายแก่ผิวหนังได้ มีการเพิ่มสารเคมีให้สีติดทนนานขึ้น สีเข้มดำขึ้น เรียกว่า พาราฟีนิลีนไดอะมีน (Paraphenylenediamine) หรือ PPD ส่วนใหญ่นำไปใช้ในสารประกอบในผลิตภัณฑ์ย้อมสีอุตสาหกรรมผลิตยางอุตสาหกรรมย้อมผ้า เป็นต้น สามารถออกฤทธิ์ระคายเคืองผิวหนังได้ภายในเวลา 48 ชั่วโมง ก่อให้เกิดอาการแพ้เป็น ผื่นแดง ผื่นสัมผัส คัน ผิวแห้ง เมื่อขึ้นตุ่มแดงแล้วจะรักษาหายช้ามาก และจะทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้

 

 

เมื่อเดือนมกราคมปี 2007 ในสหรัฐอเมริกาเคยมีคดีความเกี่ยวกับแบล็คเฮนน่า กรณีเด็กจาครอบครัวหนึ่งเกิดผื่นแดง ผิวไหม้ผุพองหลังสัมผัสสาร PPD ในแบล็คเฮนน่า ที่พวกเขาใช้เล่นเพ้นท์ตามร่างกาย ในช่วงวันหยุด จากคดีดังกล่าวทำให้กฎหมายระบุว่าห้ามมีการจำหน่ายหรือใช้แบล็คเฮนน่า และถูกขึ้นชื่อในรายการสารเคมีอันตรายที่มีฤทธิ์ร้ายแรงไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ และมีข้อห้ามนำไปย้อมขนคิ้วหรือขนตา เพราะเป็นอันตรายถึงขั้นตาบอดได้ แต่ก็ยังมีร้านสักบางแห่งก็นิยามนำแบล็คเฮนน่ามาเพ้นท์ให้กับเด็กๆ อีกทั้งยังมีบางบริษัทที่ลักลอบขอยเฮนน่า หลากสีโดยการแฝงมากับของเล่นในรูปแบบต่างๆ ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในสหรัฐอเมริกา ยังคงมีการสุ่มตรวจหาปริมาณ PPD ในของเล่น รวมถึงผลิตภัณฑ์ของใช้เด็กว่ามีปริมาณสาร PPD ปะปนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อเด็กมากน้อยเพียงใด

(Some images used under license from Shutterstock.com.)