© 2017 Copyright - Haijai.com
อาหารเป็นพิษ Food Poisoning
อาหารเป็นพิษ เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อน สาเหตุของการปนเปื้อนในอาหารอาจจะมาจากการติดเชื้อ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต และมาจากสารพิษในอาหารนั้นๆ เช่น เห็ดพิษ หอย กุ้ง ปู ที่ปรุงอย่างไม่เหมาะสม หรือยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ อาหารเป็นพิษมักจะเกิดขึ้นเมื่ออาหารไม่ได้แช่เย็นเป็นเวลานานเกินไปหรือ วิธีการปรุงอาหารไม่ถูกสุขอนามัย และจากการรับประทานเนื้อดิบ ผลิตภัณฑ์จากนม อาหารกระป๋องที่ผลิตด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของมายองเนส ซึ่งเก็บไว้ข้างนอกนานเกินไป นอกจากนี้การปนเปื้อนในอาหาร อาจจะมาจากผู้ประกอบอาหารขาดสุขอนามัย (เช่น ไม่ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ) หรือ ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ
คำแนะนำผู้ป่วย
• อาการอาเจียนและท้องร่วงที่ไม่รุนแรงและมีระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง สามารถรักษาด้วยตนเองที่บ้าน
• ทดแทนสารน้ำหรืออิเล็กโทรไลต์ที่สูญเสีย เนื่องจากอาการท้องร่วงหรืออาเจียน โดยการดื่ม oral rehydration solution : ORS จิครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำผลไม้ ซุปไก่ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชดเชยการสูญเสียเกลือแร่หลังจากเล่นกีฬา เนื่องจากเครื่องดื่มพวกนี้มีปริมาณอิเล็กโทรไลต์ไม่เพียงพอต่อการชดเชยการสูญเสียเกลือแร่ และยังมีค่า osmolality สูง ทำให้อาการท้องร่วงแย่ลง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงนม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยุดถ่าย เช่น loperamide และยารวม diphenoxylate กับ atropine เนื่องจากยาดังกล่าวจะลดการขจัดแบคทีเรียหรือสารพิษ ออกจากระบบทางเดินอาหาร
• ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาขับปัสสาวะ ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยอาจจะต้องหยุดใช้ยาดังกล่าวขณะที่มีอาการท้องร่วง หลีกเลี่ยงการหยุดยาหรือเปลี่ยนยาด้วยตนเอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
• เมื่อผู้ป่วยหยุดคลื่นไส้อาเจียน ให้ผู้ป่วยค่อยๆ เริ่มกินอาหารแข็งที่ละน้อยๆ อาหารธรรมดาที่ย่อยง่าย ได้แก่ ขนมปังกรอบ ขนมปัง ข้าว มันฝรั่ง เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดไขมันและไก่ที่ปรุงสุก โดยไม่ใช้การทอด สามารถนำมาให้ผู้ป่วยรับประทานในปริมาณน้อยๆ แต่อาเจียนอีกครั้งให้หยุดรับประทานอาหารดังกล่าว
• พักผ่อนให้มากๆ เนื่องจากภาวะขาดน้ำทำให้อ่อนแรงและเหนื่อยล้า
• ไม่รับประทานอาหารที่สงสัยว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษโดยเด็ดขาด เพราะอาหารบางอย่างแม้มีปริมาณเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้
• หลีกเลี่ยงการรับประทานนมดิบ เนื้อดิบ ไข่ดิบ และอาหารทะเลดิบ
• ถ้าผู้ป่วยมีอาการท้องร่วงนานกว่า 24 ชั่วโมง อาเจียน นานกว่า 12 ชั่วโมง หรืออาการรุนแรงขึ้นแม้จะได้รับยาแล้วให้ผู้ป่วยพบแพทย์ทันที
ทางเลือกในการรักษา
อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes)
• ใช้ oral rehydration solution : ORS เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและป้องกันภาวะขาดน้ำ ORS ประกอบด้วยอิเล็กโทรไลต์ (เช่น Sodium chloride และ Potassium chloride) ไบคาร์บอเนต (เช่น Sodium bicarbonate หรือ Sodium citrate) น้ำและคาร์โบไฮเดรต (เช่น glucose) ORS มักจะอยู่ในรูปของผงสำหรับละลายน้ำดื่ม
• องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ ORS ที่มีโซเดียวความเข้มข้น 90 mmol/L ประกอบด้วย sodium chloride 3.5 กรัม trisodium citrate dehydrate 2.9 กรัม potassium chloride 1.5 กรัม และ glucose 20 กรัม ในสารละลายปริมาณ 1 ลิตร
ยาแก้ปวดและยาลดไข้ (Analgesics & Antipyretics)
• ใช้ยาแก้ปวดบางตัว เช่น paracetamol เพื่อลดไข้
ยาฆ่าเชื้อ (Anti-infectives)
• ในกรณีที่มีอาการอาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อ Campylobacter และ Shigella ให้ใช้ azithromycin, quinolones หรือ parenteral aminoglycosides การรักษามีความสำคัญมากในกรณีที่ติดเชื้อ Shigella เพราะจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อนี้
• การให้ cephalosporins โดยการฉีด ตามด้วยการให้ amoxicillin หรือ quinolones โดยการรับประทานจะใช้รักษาการติดเชื้อ Salmonella ที่ลำไส้
• สามารถใช้ยาในกลุ่ม tetracyclines สำหรับรักษาการติดเชื้อ V.cholera, V.paraheamolyticus และ V.vulnificus ในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุมากกว่า 8 ชวบ และผู้ใหญ่ได้
• การใช้ ampicillin โดยฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือการใช้ trimethoprim sulfamethoxazole จะรักษาการติดเชื้อ Listeria ทั่วร่างกาย
ยาแก้พิษ (Antidotes)
• ยาที่ไปจับกับสารพิษ (เช่น activated charcoal) จะลดการดูดซึมสารพิษของระบบทางเดินอาหาร ทำให้สารพิษออกฤทธิ์ได้น้อยลงหรือไม่มีพิษ หรือไปเพิ่มการกำจัดสารพิษ ยาพวกนี้มีความปลอดภัย แต่ก็อาจพบอาการข้างเคียงได้บ้าง เช่น อาเจียน และการเพิ่มความเสี่ยงของการสำลัก ถ้าหากทางเดินหายใจไม่ได้รับการปกป้องอย่างเพียงพอ
• Atropine หรือ physostigmine ซึ่งออฤทธิ์ต้านกลไกความเป็นพิษของสารพิษบางชนิด เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ใช้ในการรักษาพิษ จากเห็ดพิษ ซึ่งประกอบด้วย muscarine และใช้รักษาพิษจาก ยาฆ่าแมลงในกลุ่ม organophosphorus
(Some images used under license from Shutterstock.com.)