Haijai.com


รักนี้ อยู่ที่ความพอดีของพ่อแม่


 
เปิดอ่าน 1486
 

รักนี้ อยู่ที่ความพอดีของพ่อแม่

 

 

การเลี้ยงลูกของพ่อแม่สมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปมากนะคะ มีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่ จำเป็นต้องนำลูกไปฝากไว้กับคนอื่นให้ดูแลแทน ไม่ว่าจะเป็นพี่เลี้ยงหรือสถานที่รับเลี้ยงดู ประกอบกับธุรกิจ เกี่ยวกับการดูแลเด็กก็เกิดขึ้นมากมาย เพื่อรองรับความต้องการของพ่อแม่กลุ่มน แต่ตัวคุณพ่อคุณเองเคยหันกลับมาทบทวนบ้างหรือไม่คะว่า ในสิ่งที่เราเลือกหรือสิ่งที่เราทำ ที่คิดว่าเป็นหนทางออกที่ได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกน้อยไปแล้วนั้น คือ กลั่นกรองออกมาจากความรักที่ดีที่สุด

 

 

เชื่อหรือไม่คะว่า ที่ผ่านมามีข้อมูลระบุว่าติพบว่า อัตราเด็กที่เจ็บป่วยไม่ได้จำกัดแต่เพียงด้านร่างกายเท่านั้น แต่ด้านจิตใจที่กำลังมีอัตราที่สูงขึ้นตามมา เพียงเพราะจากการถูกเลี้ยงในลักษณะนี้มีมากขึ้นเช่นกัน บางที่เราเรียกอาการเหล่านี้ได้ว่าโรคพ่อแม่ทำ  เพราะมันปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการซึมเศร้าของเด็กวัยเตาะแตะ  ลองมาทำความเข้าใจกันสักนิดคะ

 

 

ใจเศร้า หงอยเหงา จากความรักที่พ่อแม่มีมากเกิน

 

พ่อแม่บางคนต้องการสร้างภาพการเป็นพ่อแม่ที่ดีในใจลูกน้อย ด้วยการมอบความรัก ความเอาใจใส่ต่อลูกในทุกรายละเอียด โดยใช้ความคิดของพ่อแม่เป็นหลักว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้น่าจะเหมาะกับลูก เลี้ยงแบบทะนุถนอม ไม่เปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยากทำนอกเหนือจากตารางที่พ่อแม่กำหนด ลืมนึกถึงจิตใจลูก ไม่พยายามทำความเข้าใจว่าลูกต้องการอะไรบ้าง ลูกก็จะกลายเป็นเด็กไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่ช่วยเหลือตัวเอง ขาดความเชื่อมั่น เอาแต่ใจ เข้าสังคมไม่ได้ นำมาซึ่งภาวะความเครียดจากการปรับตัว หรือการไม่ได้รับการตอบสนองจากคนรอบข้าง กลายเป็นอาการป่วยทางใจ   ในทางตรงข้ามลูกอาจใช้ความฉลาดในทางที่ผิด โดยมีพฤติกรรม 2 ด้าน ที่พ่อแม่มักเรียกว่า ดื้อเงียบ คือเวลาอยู่กับพ่อแม่จะเรียบร้อย เชื่อฟังทุกอย่าง แต่พอห่างจากพ่อแม่ลูกจะแสดงออกในอารมณ์ต่างๆ มากมายตามที่ใจต้องการ อาจเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ซึ่งอาจทำให้ลูกสับสนกับพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมของตัวเองด้วย

 

 

ใจช้ำ เย็นชาจากการขาดความรัก

 

เกิดมากในกลุ่มพ่อแม่ที่ทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาให้ลูก ฝากลูกไว้กับคนอื่น เด็กในวัยนี้หากให้คนอื่นนอกเหนือจากพ่อแม่เลี้ยงดู จะส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกเจือจางลง ลูกจะกลายเป็นเด็กออทิสซึมได้ง่ายและเหินห่างจากพ่อแม่ไม่ร้องตาม ไม่รู้สึกอะไรเวลาพ่อแม่ไม่อยู่ด้วย พ่อแม่หลายคนมักมองว่าลูกเก่งไม่งอแง อยู่กับใครก็ได้ แต่จริงๆ  แล้วลูกอาจไม่ใช่เด็กเก่งหรือเด็กฉลาดอย่างที่พ่อแม่คิดก็ได้ แต่นั่นอาจเป็นพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าความผูกพันระหว่างลูกกับพ่อแม่เริ่มลดลงเรื่อยๆ จากการไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ อาจทำให้ลูกเหมือนคน “ใจช้ำ” เย็นชากับพ่อแม่และคนอื่นในอนาคตได้ และอาการเย็นชา เฉยเมยต่อสิ่งรอบข้างจะเป็นตัวขัดขวางการเรียนรู้ของลูก ทำให้มีพัฒนาการล่าช้าตามมาด้วยค่ะ

 

 

การเลี้ยงลูกอย่าให้เป็นดาบสองคม ควรให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมไม่มากไป ไม่น้อยไปและอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจต่อความต้องการของลูกเป็นหลัก   เด็กช่วงวัยก่อน 3 ขวบ หากได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่หรือคนภายในครอบครัวมากไป หรือถูกปล่อยให้อยู่กับวัตถุอย่างเดียว ไม่ได้รับการเอาใจใส่ทางด้านจิตใจเลย ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการทางความคิดและจิตใจของลูก ให้มีความเครียด หรือซึมเศร้าได้เช่นกัน เป็นอาการที่คล้ายกันแต่ต่างที่สาเหตุ ฉะนั้น พ่อแม่ต้องพยายามศึกษาพฤติกรรมของลูกอย่างถ่องแท้ เด็กวัยนี้พูดบอกอะไรได้ไม่มากนัก พ่อแม่ต้องนึกถึงสภาพจิตใจของลูกเป็นหลัก ค่อยๆ สอนค่อยแนะให้ลูกได้เรียนรู้อย่างสมวัย ไม่บังคับให้ลูกโตเร็วเกินไว ทั้งๆ ที่สภาพจิตใจไม่พร้อม เพราะพ่อแม่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าว่า สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของลูก สมองที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างรวดเร็ว จะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าลูกๆ ของคุณไม่มีปัญหาด้านอื่นแฝงอยู่ส่วนลึกของจิตใจของเขาได้

 

 

ครอบครัวไหนที่รู้สึกว่า ยังให้ความใส่ใจดูแลลูกน้อยไป หรือลูกมีพฤติกรรมลักษณะซึมเศร้า โดยไม่ทราบสาเหตุ ลองเปลี่ยนมุมมองพร้อมปรับวิถีชีวิตใหม่ให้สมดุล ทั้งด้านครอบครัวและการงาน ลดวิธีการเลี้ยงดูโดยใช้วัตถุต่างๆ ที่พ่อแม่จัดสรรมาให้ เพราะคิดว่าจะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี และไม่เหงา เพราะเด็กวัยนี้ ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าความรักความเข้าใจจากพ่อแม่ เวลาในการอยู่ร่วมกันทั้งครอบครัว มาปกป้องลูกจากโรคต่างๆ ที่มาจากความรักหรือความไม่ตั้งใจของพ่อแม่กันนะค่ะ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)