Haijai.com


เด็กวัย 4 ปี สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ


 
เปิดอ่าน 1859

Creative Development พัฒนาการทักษะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 

 

หนูน้อยวัย 4 ปี สนุกกับการได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้ได้ทำอย่างเต็มที่ และจัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้หนูน้อยได้เรียนรู้อย่างเต็มที่เต็มกำลังความสามารถ การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก จะช่วยส่งเสริมจินตนาการ  และการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี ซึ่งการได้รับการสนับสนุนที่ดีจากพ่อแม่นั้น  มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนรู้ของเด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ สำหรับการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับเด็กวัยนี้อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อช่วงวัย การเรียนรู้ถึงความปลอดภัยจะนำไปสู่ความคิดอย่างสร้างสรรค์

 

 

เด็กวัย 4 ปี สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง เด็กๆ ชอบที่จะสนุกอยู่กับการประดิษฐ์ การประกอบชิ้นงาน ซึ่งต้องได้รับการชี้แนะถึงการรู้จักการใช้อุปกรณ์อย่างเหมาะสม  เพื่อความปลอดภัยและความสะอาด เด็กเรียนรู้จากการได้รับคำชี้แนะเรื่องเทคนิคการใช้สิ่งของอย่างปลอดภัยเหมาะสมกับวัย เรียนรู้การใช้เครืองมือ ระมัดระวังสิ่งของที่อาจแตกหักได้ อย่างไรก็ดี ผู้ใหญ่ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กเพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้

 

 

 ผู้ใหญ่ควรแนะนำการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง ผ่านการสาธิตและพูดคุยถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งเป็นอันตรายที่เกินจากการคาดคิดของเด็กวัยนี้ แทนการขู่และพร่ำบ่น

 

 

 ผู้ใหญ่ควรจัดเก็บอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กให้มิดชิด เด็กไม่สามารถเอื้อมหยิบได้เอง หรือ อาจตกหล่นลงมาโดนเด็กได้

 

 

 หลังจากการสาธิตวิธีใช้อุปกรณ์ต่างๆ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองการใช้เพื่อให้เกิดประสบการณ์ เช่น ลองให้ลูกสาธิตการใช้กรรไกร การระมัดระวังใช้กาวอย่างถูกวิธี เป็นต้น

 

 

 ควรจัดเตรียมชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน ไว้ไห้พร้อม หยิบใช้ได้ง่ายเมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดได้อย่างทันท่วงที

 

 

มีการศึกษาวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์จะทำให้

 

 เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น และรับมือกับความยุ่งยากทางอารมณ์และความเครียดได้ดี มีการวิจัยในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ที่มีจินตนาการสูง พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีผลการเรียนดี สามารถเผชิญเหตุการณ์ความเครียดได้ หรือสามารถใช้จินตนาการในกรเยียวยาภาวะอารมณ์ที่ถั่งโถมได้

 

 

 เด็กมีผลการเรียนดีและมีความสุขในชีวิต

 

 

 เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และมีความฉลาดเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

 

 

 เด็กที่มีเพื่อนในการเล่นบทบาทสมมติด้วยกัน มีแนวโน้มที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ และฉลาดกว่าเพื่อนในระดับเดียวกัน

 

 

การเล่นเป็นวิธีพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับธรรมชาติ ความสนใจ และกลไกการทำงานของสมองของเด็ก การที่เซลล์ประสาทในสมองจะทำงานเชื่อมประสานกันได้ดี ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเป็นประตูสู่การเรียนรู้ภายนอก งานวิจัยในต่างประเทศพบว่าเด็กมีโอกาสเล่นมากเท่าไร เด็กก็จะได้รับการพัฒนามากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในวัย 0-6 ปี ทุกครั้งที่เด็กเล่นไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง กระโดด คืบคลาน เล่นดินเล่นทราย หยิบจับสิ่งของ เล่นตุ๊กตา เล่นตั้งเต กระโดดหนังยาง เล่นต่อบล็อก ต่อตัวต่อ ฯลฯ เซลล์สมองหนึ่งแสนล้านเซลล์จะเกิดการต่อเชื่อมกันเป็นร่างแห และหากเด็กมีโอกาสเล่นหลากหลายมากยิ่งขึ้นเท่าใด การเชื่อมโยงของเซลล์สมองก็จะมากขึ้น แข็งแรงขึ้น ทำให้เด็กมีความสามารถในการคิด เกิดการเรียนรู้ที่ดี และการเล่นที่เด็กมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำให้การเชื่อมโยงนี้เพิ่มขึ้น 20-25 เปอร์เซ็นต์ การเล่นของเด็กไม่ใช่ส่งเสริมความฉลาดทางสติปัญญาเท่านั้น แต่ยังหลอมรวมให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ ทางสังคม และความแข็งแรงทางร่างกายอีกด้วย

(Some images used under license from Shutterstock.com.)